Author Archive

พิธีเปิดบริษัท สำนักงาน ร้านค้า   Leave a comment

ภาพส่วนหนึ่ง ที่อาจารย์ได้เป็นผู้ประกอบพิธี บวงสรวง นำมาให้ดูพอสังเขป

บริษัทแห่งหนึ่ง ที่แยกลำสาลี รามคำแหง

ซึ่งมีการทำบุญเลี้ยงพระ และขอบารมีพระคุณเจ้าฯ ช่วยเจิม เปิดบริษัท เพื่อความเป็นศิริมงคลยิ่ง ๆ ขึ้นไป

33

 

 

อีกที่หนึ่ง คือ ร้านชมพูดัง ที่โลตัส ปิ่นเกล้า

อาจารย์วิเชียร คุรุพรหมมา ทำพิธีเปิดร้าน เจิมป้ายร้าน เพื่อเป็นศิริมงคล เป็นขวัญ กำลังใจ ให้กับท่านเจ้าของ และพนักงานทุกท่าน

42 

ที่ร้านนี้ นับถือบูชา สมเด็จพระปิยะมหาราช  ซึ่งอาจารย์ก็ได้ทำพิธีอธิฐานจิต ขอพรให้ทางร้านด้วย

  40  

    อีกมุมหนึ่งของร้าน จัดไว้สวยงาม อาจารย์ถ่ายรูปหลังเสร็จพิธีไว้เป็นที่ระลึก

43

ร้านชมพูดังนี้ให้บริการสักเพื่อความงาม ด้วยอุปกรณ์ทันสมัยจากต่างประเทศ สนใจติดต่อได้ที่ร้าน

พิธีตั้งศาลพระพรหม บริษัท ทองเฉลิม จำกัด   Leave a comment

 ศาลท่านท้าวมหาพรหม เมื่อทำพิธีเรียบร้อยแล้ว เด่น เป็นสง่า สวยงามมาก135

 

ชุุดไม้มงคล แผ่น เงิน ทอง นาค ดอกไม้โปรย พานครู ขันน้ำมนต์ และพลอย 9 สี เตรียมพร้อม ก่อนเริ่มพิธีตั้งศาลฯ

120ชุดไม้มงคล

อาจารย์วิเชียร ลงอักษระและเจิมชุดของมงคลเรียบร้อย พร้อมใช้ในพิธี

121 ไม้มคล

 

การบรรจุชุดของมงคลงใต้ฐาน122

 

อาจารย์วิเชียร เริ่มพระกอบพิธี124

129

นางรำ รำถวายพระพรหม สวยงามมาก                                       พรหมน้ำมนต์สี่ทิศ

136  137

ประกอบพิธีเสร็จเรียบร้อย ครบถ้วน133

 

134

พิธียกเสาเอก   Leave a comment

 

การจะสร้างบ้านสักหลังหนึ่งนั้น ขั้นตอนสำคัญขั้นตอนหนึ่งนั้นที่เจ้าของบ้านส่วนใหญ่ในบ้านเราให้ความสำคัญกันมาก ก็คือขั้นตอนของพิธียกเสาเอก โดยเจ้าของบ้านส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า

การ ทำพิธียกเสาเอกจะทำให้งานก่อสร้างมีความราบรื่นไม่มีปัญหาและอุปสรรคและ เมื่อได้เข้าอยู่บ้านหลังที่สร้างแล้วจะทำให้อยู่เย็นเป็นสุข และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งเป็นความเชื่อและเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดกันมา

การทำพิธียกเสาเอกกับขั้นตอนการสร้างบ้าน

ในสมัยโบราณ การก่อสร้างบ้านส่วนใหญ่เป็นการสร้างบ้านไม้ เสาบ้านก็เป็นเสาไม้

ดังนั้นฤกษ์ลงเสาเอกก็คือ ฤกษ์เวลาที่เรานำเสาหลักของบ้านหย่อนลงสู่หลุมที่เตรียมเอาไว้ จัดเสาให้ตั้งตรง และเอาไม้ค้ำยันค้ำไว้ เอาดินกลบหลุมทั้งหมด

แต่ในปัจจุบัน ขั้นตอน และวิธีการก่อสร้างได้เปลี่ยนไป อาคารปัจจุบันส่วนใหญ่แล้วแต่เป็นอาคารโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ต้องมีการตอกเสาเข็ม ต้องมีการเทฐานราก ทำตอม่อ แล้วจึงจะขึ้นเสาโผล่พื้นดินได้ ดังนั้นก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจว่าพิธียกเสาเอกกับการสร้างในปัจจุบันที่เป็น

โครงสร้างคอนกรีตนั้น เขาทำกันในช่วงไหนของการก่อสร้าง ซึ่งจากประสบการณ์ในการก่อสร้างที่ผ่านมา พิธียกเสาเอก จะทำกันได้ใน 3 ลักษณะดังนี้

1. ยึดเวลาที่ตอก (เจาะ) เสาเข็มต้นแรก หรือเวลาที่ตอก (เจาะ) เสาเข็มต้นที่กำหนดให้เป็นเสาเอก (น่าจะเรียกว่า “ฤกษ์” เข็มเอก)

2. ยึดเวลาที่ยกเสาเหล็กเสริม เทคอนกรีตฐานราก

3. ยึดเวลาที่มีการเทคอนกรีตหล่อเสาอาคารจริงๆ

การเตรียมการหน้างานในพิธียกเสาเอก

การเตรียมหน้างานก่อสร้างให้พร้อมก่อนการทำพิธียกเสาเอกถือเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่าฤกษ์ ในพิธียกเสาเอก เป็นฤกษ์เวลาที่แน่นอน เช่นบางหลังกำหนดที่เวลา 9.09 น.

ดังนั้นการเตรียมการหน้างานที่ไม่พร้อมอาจทำให้เกิดปัญหาขลุกขลัก ทำให้เกิดความผิดพลาดไม่ตรงกัน ฤกษ์ที่กำหนดไว้ เกิดความไม่สบายใจได้ ดังนั้นการเตรียมการหน้างานให้มีความพร้อมนั้นจะต้องจัดเตรียมงานดังนี้

1. การเตรียมพื้นที่ โดยรอบของบริเวณที่จะทำพิธีให้เรียบร้อย เพื่อสะดวกในการทำพิธี

2. ขุดหลุมฐานรากที่จะทำพิธีให้มีขนาดความลึกและความกว้างตามแบบ

3. ปรับพื้นที่ก้นหลุมให้เรียบร้อยเก็บเศษปูนเศษไม้ให้หมด ปรับระดับให้เรียบด้วยทรายหยาบ

4. เตรียมผูกเหล็กเสริมฐานรากไว้ด้านบน พร้อมที่จะยกลงตอนทำพิธี

5. เตรียมผูกเหล็กเสาที่จะทำการยกเสาเอกวางพาดไว้ ตรงปากหลุมโดยยกหัวเสาให้สูงขึ้นกว่าโคนเสา

6. เตรียมคอนกรีตให้พร้อมเพื่อเตรียมเทหลังจากที่ยกเสาเหล็กขึ้นตั้งแล้ว

การเตรียมของใช้ในพิธียกเสาเอก

การเตรียมของใช้ในพิธียกเสาเอกนั้นมีอยู่หลายตำราด้วยกัน แล้วแต่ผู้ที่เรานับถือที่จะดำเนินการทำพิธีให้เป็นผู้กำหนด แต่ในที่นี้เราจะอ้างอิงจาก “ศาสนพิธี” ในหนังสือพุทธศาสตร์ ปีที่ 43 อันดับที่ 1/2543 โดยการเตรียมของใช้ในพิธียกเสาเอกมีดังนี้

 

1. จัดโต๊ะหมู่บูชา 1 ชุด พร้อมเครื่องสักการะ (ถ้าประสงค์)

2. จตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระ 1 ชุด (กรณีนิมนต์พระมาประพรมน้ำมนต์ที่หลุม และเจริญชัยมงคลคาถา)

3. เครื่องบูชาฤกษ์หรือสังเวยเทวดา (จัดย่อส่วนก็ได้ ดูพิธีวางศิลาฤกษ์)

4. ใบทอง นาก เงิน อย่างละ 3 ใบ

5. ทอง เงิน อย่างละ 9 เหรียญ

6. ทรายเสก 1 ขัน

7. น้ำมนต์ 1 ขัน (พร้อมกำหญ้าคา 1 กำ)

8. ด้ายสายสิญจน์ 1 ม้วนเล็ก

9. ทองคำเปลว 3 แผ่น

10. ผ้าแพรสีแดง ห่มเสา หรือผ้าขาวม้า 1 ผืน

11. หน่อกล้วย อ้อย อย่างละ 1 หน่อ

12. ไม้มงคล 9 ชนิด ได้แก่ กันเกรา ทรงบาดาล ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์ ขนุน สักทอง ทองหลาง ไผ่สีสุก พยุง

13. แผ่นทอง นาก เงิน อย่างละ 1 แผ่น

14. ข้าวตอกดอกไม้ 1 ขัน

 

ภาพบางส่วนในงานพิธีลงเสาเอกต่าง ๆ ที่อาจารย์วิเชียร คุรุพรหมมาได้ประกอบพิธีการมา

 

ไม้มงคล พลอยเก้าสี แผ่นเงิน ทอง นาค ที่อ.วิเชียร คุรุพรหมมา ลงอักขระ และเจิม เพื่อเตรียมทำพิธียกเสาเอกต่อไป

70

ทำพิธีวางไม้ ลงไม้มงคล วางแผ่น เงิน ทอง นาค และพลอยมงคลเก้าสี เมื่อวางของมงคแล้ว ก็โปรยข้าวตอก ดอกไม้ เพื่อความเป็นศิริมงคลต่อไป

68

การแต่งเสาเอก แบบโบราณประยุกต์ (เสาเอกแต่งเป็นชาย)

 69

 

การแต่งเสาโท ตามแบบโบราณประยุกต์ (เสาโท แต่งเป็นหญิง)

72

พิธีบวงสรวงและงานประจำปีที่หนองคาย   Leave a comment

พิธีบวงสรวง ที่อำเภอ สังคม

 

อาจารย์วิเชียร คุรุพรหมมา กับ ผู้ใหญ่บ้าน พงษ์พันธ์ วิชัยยนต์ ซึ่งเป็นผู้กำกับ และดูแลสถานที่

78

 

ผู้มาร่วมงาน และผู้เฒ่าผู้แก่ ทั้งหลาย ต่างพร้อมใจกันมาจุดธูปขอพร

51   56

 

ปะรำพิธีบวงสรวงบูชาพญานาค ซึ่งปกติ อาจารย์วิเชียร จะเป็นผู้ประกอบพิธีทุกปี

85

87

 

กับคุณยายปลั่ง ผู้มีจิตศรัทธาในสายพญานาค

89

 

ขณะประกอบพิธี มีแมลงภู่ขนาดใหญ่มาเกาะที่ยอดบายศรีอยู่นานมาก เป็นที่อัศจรรย์ใจกับผู้ร่วมพิธี

48

49    50

พิธีบายศรีสู่ขวัญให้กับผู้มาร่วมงานบวงสรวงพญานาค โดยมีชาวต่างชาติมาร่วมพิธีด้วย

90 91

 

 

 

ประมวลภาพงานประเพณีเทศน์มหาชาติประจำปี

 ขบวนแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง

 

97

อาจารย์วิเชียร นั่งบนหลังช้าง โปรยข้าวตอกดอกไม้ไปตามเส้นทาง

99

ขบวนแห่ ยิ่งใหญ่ สวยงาม แสดงถึงความสามัคคีและแรงศรัทธาอย่างล้นหลาม

 100

101

102

ถ่ายรูปร่วมกับผู้ร่วมขบวนแห่ (รวมช้างด้วย)

95

94104

 

105  103

 

ตามรอยพญานาคที่หนองคาย

ณ. ถ้ำเพียงดิน หรือ อีกชื่อหนึ่ง ถ้ำดินเพียง

ภายในถ้าสวยงามมาก สะอาดเหมือนมีใครทำความสะอาดเช็ดถูอยู่ตลอด

 73ถ้าเพียงดิน ถ้าพญานาค

 

 

74 ถ้ำเพียงดิน ตำนานพญานาค

 

ร่วมงานบวงสรวงประจำปี วัดที่มาเลเซีย   Leave a comment

15ถ่ายรูปตรงสะพานข้ามไปฝั่งปีนัง-มาเลเซีย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ถ่ายรูปกับคณะที่เดินทางร่วมกัน

14   

 

 

 

 

หน้าร้านขายของที่ระลึก – ปีนัง

18

 

     19

 

ถ่ายรูปเป็นที่ระลึก กับเจ้าของร้านให้เช่าบูชาเทวรูปของปีนัง สวยงามมาก

 

 

 

 

 

 

อาจารย์วิเชียร์ คุรุพรหมมา ถ่ายรูปร่วมกับคณะ และ คุณซูหลิน (คนยืนข้างอาจารย์) ซึ่งดูแลคณะของเราเป็นอย่างดี

22

 

ภาพจากงานพิธีเชิญเจ้าแม่กาลี บรรยากาศในงานเต็มไปด้วยผู้มาร่วมงานที่มีความศรัทธราในพระแม่กาลีเป็นอย่างมาก ในภาพ ร่างพระแม่กาลี กำลังทำพิธีเชิญองค์พระแม่ และนำขบวนแห่เข้าวัดสถานที่จัดงาน

24   26

ถ่ายรูปร่วมกับเด็ก ๆ และสาว ๆ ที่มาร่วมงาน

29

31 32  

 

ถ่ายรูปคู่กับร่างพระแม่กาลี

30

การบูรณะกรณีน้ำท่วมศาล   Leave a comment

จากมหาวิกฤตอุทกภัยครั้งนี้ มีมวลน้ำมากมายมหาศาลเข้าท่วมสูงในหลายจังหวัด ส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่ผู้คนและทรัพย์สิน จำนวนมาก โดยเฉพาะที่อยู่อาศัย อาคารบ้านเรือน ต้องชำรุดเสียหาย รวมถึงสถานที่ประดิษฐานของสิ่งศักดิ์ที่อยู่คู่กับอาคารบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เช่นศาลพระพรหม ศาลพระพิฆเนศ ศาลพระภูมิ ศาลตายาย และศาลเทพเทวาต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ กราบไหว้บูชา เป็นขวัญและกำลังใจในสถานที่นั้น ๆ

มีหลายท่าน ออกมาให้คำแนะนำให้การดูแล ปรับปรุงซ่อมแซม อาคารบ้านเรือนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมกันมากมาย แต่คำแนะนำในการดูแล ปรับปรุงซ่อมแซมศาลนั้น ข้าพเจ้ายังไม่เห็นผู้ใดกล่าวถึงในสื่อต่าง ๆ  ดังนั้นข้าพเจ้าขอเป็นส่วนหนึ่งในการให้แนวทางในการดูแลรักษา เพื่อให้คงสถาพความศักดิ์สิทธิ สง่างามดังเดิม เพื่อความเป็นมงคลและขวัญกำลังใจแก่ผู้คนในสถานที่นั้น หลังจากน้ำลดลงแล้วสืบไป

 

เพื่อให้เข้าใจเป็นขั้นเป็นตอน ข้าพเจ้าขอแบ่งเนื้อหาออกเป็นสี่ส่วนดังนี้

1. สำรวจความเสียหาย

1.1. เกี่ยวกับบริเวณศาลที่ถูกน้ำท่วม

1.2. ตรวจสอบความเสียหายของตัวศาล

1.3. เกี่ยวกับเครื่องประกอบศาล

1.4. เกี่ยวกับองค์ประธานศาล

2. การปรับปรุงดูแล

3. เครื่องสักการะบูชา

4. ขั้นตอนการบูชาศาลโดยสังเขป

 

สำรวจความเสียหาย

ประการแรก-เกี่ยวกับบริเวณศาลที่ถูกน้ำท่วม

1. ตรวจสอบกระแสไฟฟ้าที่ศาลและโดยรอบบริเวณพื้นศาล ต้องให้มั่นใจว่าไม่มีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลออกมา หรือตัดระบบกระแสไฟฟ้าให้เรียบร้อย ก่อนจะดำเนินการในขั้นตอนอื่นต่อไป

2. กำจัดขยะมูลฝอยที่ตกค้างบริเวณพื้นและโดยรอบศาลออกทั้งหมด

3. ปัด กวาด ทำความสะอาด เช็ดถูพื้นศาลและตัวเรือนศาลให้สะอาดเรียบร้อย

4. ไม้ดอก ไม้ประดับต่าง ๆ ที่ปลูกอยู่บริเวณโดยรอบศาล ถ้าถูกน้ำท่วมจนตายแล้ว ให้นำออก อย่าปล่อยให้ยืนต้นตายอยู่บริเวณโดยรอบศาล

5. ปรับปรุงบริเวณโดยรอบศาล ถ้ามีดินโคลนหรือตะกอนเน่าเสียตกค้างอยู่ ให้นำออกไปทิ้งให้เรียบร้อย ถ้าเป็นหลุมเป็นบ่อ ให้หาดินหรือทรายมากลบถม ปรับเกลี่ยให้เสมอสวยงามเรียบร้อยดังเดิม

ประการที่สอง-ตรวจสอบความเสียหายของตัวศาล

1. พื้นศาล แตก ร้าว ทรุดเอียง หรือไม่

2. ชุดเรือนศาล แตกหัก ร้าวเสียหายหรือไม่ เช่นเสาศาล เรือนศาลและศาลยังอยู่ในตำแหน่งเดิม หรือถูกน้ำพัดจนมีการเคลื่อนตัวออกจากตำแหน่งเดิมหรือไม่

3. โต๊ะตั้งเครื่องไหว้ แตกหัก ร้าว เสียหาย มีการเคลื่อนตัวออกจากตำแหน่งเดิมหรือไม่

เมื่อตรวจสอบแล้ว หากพบความเสียหายให้ปรับปรุงซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิม

ประการที่สาม-เกี่ยวกับเครื่องประกอบศาล

1. กระถางธูป เชิงเทียน แจกัน

2. นางสนม นางระคร ช้างม้า

3. ตุ่มเงิน ตุ่มทอง ฉัตรเงิน ฉัตรทอง โพธิ์เงิน โพธิ์ทอง

4. พวงมาลัย ผ้าสามสี

เมื่อตรวจสอบดูว่าอยู่ครบ หรือ ชำรุดสูญหายหรือไม่ หากชำรุดหรือสูญหาย ก็ให้จัดหามาแทนให้ครบและทำการจัดถวายในเวลาที่เหมาะสมและเป็นมงคลต่อไป

ประการที่สี่-องค์ประธานศาล

1. ศาลพระพรหม จะเป็นองค์พระพรหม

2. ศาลพระพิฆเนศ จะเป็นองค์พระพิฆเนศ

3. ศาลพระภูมิ จะเป็นองค์พระชัยมงคล

4. ศาลตายาย จะเป็นร่างตา-ยาย

5. ศาลเทพเทวา จะเป็นองค์เทพเทวาองค์นั้นเป็นประธานศาล

ทั้งห้าชนิดศาลนี้ เมื่อตรวจเช็คแล้ว เกิดความเสียหาย หรือชำรุดแตกหัก หรือถูกกระแสน้ำพัดพาจนสูญหาย (กรณีน้ำท่วมศาลสูงมาก) ต้องดำเนินจัดหามาทดแทน โดยต้องมีการทำพิธีบรวงสรวงและอัญเชิญให้เรียบร้อย ในวันเวลาที่เหมาะสม ให้ถูกต้องตามขั้นตอน จะได้เป็นมงคลสืบไป

 

การปรับปรุงดูแล

หลังจากตรวจสอบตามหัวข้อข้างต้นแล้ว พบรายการใดเสียหาย ก็ให้ปรับปรุงซ่อมแซม สิ่งใดที่สูญหาย หรือซ่อมแซมไม่ได้ ก็ให้จัดหามาทดแทน ดังที่แนะนำไปข้างต้น สิ่งที่ควรรู้คือ รายการต่อไปนี้ หากชำรุดเสียหาย ควรต้องรีบปรับปรุงดูแลโดยเร็ว ไม่ควรปล่อยไว้นานเกินไป ดังนี้

1. พื้นศาล แตกหัก ทรุดเอียง

2. ตัวศาล หักโค่น หรือ ล้ม

3. พื้นศาลและตัวศาล เคลื่อนตัวออกจากตำแหน่ง ทิศทาง องศา หรือหันทิศผิดเพี้ยนไปจากเดิม

4. องค์ประธานศาล

ในกรณีที่ต้องเปลี่ยนองค์ประธานศาล จะต้องทำพิธี เจิม เบิกเนตร อธิฐานจิต ทำพิธีบรวงสรวง อัญเชิญ ตามขึ้นตอน จะได้เป็นมงคลสืบไป ส่วนกรณีที่มีการปรับปรุงดูแลโดยรวมไม่มากนัก ให้ทำการจุดธูปเทียน บอกกล่าว ขอขมา ขอพร ก็เป็นมงคลแล้ว

เครื่องสักการะบูชา

แบบพอสังเขป ดังนี้

1. บายศรีปากชาม 1 คู่

2. กล้วยน้ำว้า 2 หวี

3. มะพร้าวอ่อน 2 ลูก

4. ผลไม้ 5 อย่าง 1 ถาด เช่น สัปปะรด ส้มเขียวหวาน สาลี่ แอปเปิ้ล องุ่น เป็นต้น

5. หมากพลู บุหรี่ 1 ชุด

6. น้ำดื่ม น้ำชา อย่างละ 1 แก้ว

7. ข้าว ไข่ต้ม 1 จาน

8. ผ้าปูโต๊ะ 1 ผืน

เครื่องสักการะดังที่กล่าวมานี้ จัดหาไม่ยาก ค่าใช้จ่ายก็ไม่สูงมากนัก ใช้กราบไหว้บูชา บอกกล่าว ขอขมา ขอพรได้ดีและเป็นมงคลกับผู้สักการะ ในอีกส่วนหนึ่งที่จะต้องคำนึงถึง คืออุปกรณ์ที่ปกติต้องมีไว้ประจำโต๊ะบูชาอยู่แล้วได้แก่

1. เชิงเทียน

2. กระถางธูป

3. แจกัน

โดยจัดเตรียม เทียน 2 เล่ม ธูป 1 กำ ดอกไม้ใส่แจกัน 2 กำ

 

ขั้นตอนการบูชาศาล (พอสังเขป)

1. ตั้งนะโม 3 จบ

2. บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

3. ขอบารมีครูอาจารย์ที่เราเคารพนับถือ ว่า ในการทำการใด ๆ ในครั้งนี้ให้เรียบร้อยไปได้ด้วยดี ไม่เกิดโทษภัย ซึ่งได้เสร็จธุระนั้นแล้ว ข้าพเจ้าได้จัดเครื่องสักการะบูชามาถวายแด่ท่าน

4. ตั้งจิตถึงองค์ประธานศาล เช่นพระพรหม พระพิฆเนศ พระชัยมงคล ตายาย หรือเทพเทวาประจำศาลนั้น ว่า ข้าพเจ้าได้ดำเนินการตามที่ตั้งใจเรียบร้อยแล้ว ข้าพเจ้าได้จัดเครื่องสักการะบูชามากราบไหว้ ขอขมาขอพรต่อท่านแล้ว ขอให้ท่านได้โปรดเมตตาข้าพเจ้าตลอดไปด้วยเถิด

5. การกล่าวขอขมาต่อศาลโดยใช้บทนี้โดยรวมได้ มีใช้กันทั่วไปอยู่แล้ว

อิติสุคะโต อะระหังพุทโธ

นะโมพุทธายะ ปะฐะวีคงคา

พระภูมมะเทวา ขะมามิหัง

ในการดำเนินการทุกขั้นตอนข้างต้น จะต้องตั้งใจให้มั่นด้วยความเคารพนอบน้อมและศรัทธาทุกขั้นตอนดังนี้ เป็นอันเสร็จพิธี

การจุดธูปบูชาตามความเชื่อ

1. ศาลพระพรหม ใช้ธูป 16 ดอก

2. ศาลพระพิฆเนศ ใช้ธูป 9 หรือ 16 ดอก

3. ศาลพระภูมิ ใช้ธูป 9 ดอก

4. ศาลตายาย ใช้ธูป 5 ดอก

5. ศาลเทพเทวา ใช้ธูป 9 ดอก

จำนวนธูปดังข้างต้นนี้ อาจต่างไปบ้างตามความเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งใครจะใช้ตามวิถีที่เคยปฏิบัติมาก็ไม่ผิดอะไร เพียงแต่ขอให้ตั้งจิตให้มั่นคง ไม่วอกแวก ก็ถือว่าใช้ได้

กรณีที่ต้องเชิญผู้รู้มาทำพิธี

1. ต้องเปลี่ยนพื้นศาลใหม่

2. ต้องเปลี่ยนเรือนศาลใหม่

3. ศาลเคลื่อนตัวออกจากตำแหน่งเดิม

4. ต้องเปลี่ยนองค์ประธานศาล เช่น ศาลพระพรหม ก็เป็นองค์พระพรหม

ทั้งสี่หัวข้อนี้ ต้องมีการทำน้ำมนต์ปะพรม ทำพิธีถอนศาล ทำพิธีตั้งศาล มีการเจิม เบิกเนตร อธิฐาน ควรเชิญผู้รู้มาทำพิธี ยกเว้นท่านทำพิธีเหล่านี้ได้อยู่แล้ว ทั้งหมดที่ข้าพเจ้ากล่าวมา จะเน้นการบอกกล่าวด้วยคำพูด ไม่ได้เน้นบทสวด หรือโองการบูชา เพราะถ้าไม่มีความชำนาญ ก็จะมุ่งเน้นไปที่การอ่านอย่างเดียว อาจหลงลืมไปว่าเรากำลังบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่ บางบทที่ใช้ประจำอยู่ก็ใช้ไป ขอให้ตั้งใจมั่นด้วยความเคารพ เชื่อมั่น และศรัทธา ดำเนินการไปตามที่กล่าวมาข้างต้น องค์ท่านต้องรับรู้ถึงการสื่อของเราแน่นอน

ทั้งนี้เราสามารถทำการสักการะบูชาศาลได้ แม้ศาลไม่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม แต่เป็นการบูชาสักการะทั่วไป ก็สามารถทำได้ ตามขั้นตอนที่กล่าวมา เพื่อความเป็นมงคล เป็นขวัญและกำลังใจ แก่ตัวท่านและผู้ที่อยู่อาศัย หรือทำงานในสถานที่แห่งนั้น 

ทั้งหมดนี้เป็นคำแนะนำโดยประสบการณ์ที่ได้ทำพิธีมา แนะนำด้วยความเคารพในครูบาอาจารย์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่ได้มีเจตนาล่วงเกินท่านใด หากท่านใดมีข้อสงสัย หรือต้องการคำปรึกษา สามารถติดต่อ วิเชียร คุรุพรหมมา 087 905 4112 ยินดีช่วยเหลือครับ

บำบัดอาการป่วยด้วยการสวดมนต์ (Vibrational Therapy)   Leave a comment

เชื่อหรือไม่ ว่าหากเราสวดมนต์(ไม่ว่าศาสนาใดก็ตาม) เพื่อให้ใครสักคนหายป่วย แม้จะอยู่ห่างกันคนละซีกโลก แต่พลังแห่งบทสวดนั้นจะเดินทางไปเยียวยาความเจ็บป่วยของเขาได้ ???

 

P1020699a

เพราะการสวดมนต์บำบัดทำให้เกิดทั้งคลื่นเสียงที่สามารถเดินทางลึกเข้าไปในสมอง และคลื่นไฟฟ้าที่ส่งกระจายไปในชั้นบรรยากาศไกลๆ ได้

การสวดมนต์บำบัด คือหลักการหนึ่งของ Vibrational Therapy หรือ Vibrational Medicine คือการใช้คุณสมบัติของคลื่นบางคลื่นมาบำบัดความเจ็บป่วย ซึ่งมีหลากหลายวิธี อาทิ เก้าอี้ไฟฟ้า เครื่องนวดต่างๆ ก็เป็นVibrational Therapy เช่นกัน แต่เป็นคลื่นไฟฟ้าเชิงฟิสิกส์ ที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต ต่างจาก สวดมนต์บำบัดซึ่งเป็นคลื่นที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตดังนั้นมาดูพลังแห่งการสวด มนต์บำบัดกัน ว่าคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร ???

คลื่นแห่งการเยียวยา

การสวดมนต์ใช้หลักการทำให้เกิดคลื่นเสียงที่มีความสม่ำเสมอ เพื่อเข้าไปกระตุ้นร่างกายให้เกิดการเยียวยา ซึ่งหากคลื่นเสียงที่มากระทบดังแบบไร้ระเบียบ คือประกอบด้วยเสียงที่มีความถี่ต่างๆกัน ก็ไม่เกิดประโยชน์ต่อการบำบัด

กลไกดังกล่าวเริ่มต้นเมื่อหูของเราได้ยินเสียงบทสวด ก็จะส่งสัญญาณต่อไปยังศูนย์การได้ยินที่อยู่บริเวณสมองกลีบขมับก่อนส่งไป บริเวณก้านสมอง ซึ่งเมื่อได้รับคลื่นเสียงช้าๆ สม่ำเสมอประมาณ 15 นาที ก็จะหลั่งสารสื่อประสาทที่มีประโยชน์มากมาย

เสียงสวดมนต์ด้วยสมาธิเป็นยา :ให้ผลกับร่างกายเอนกอนันต์

รองศาสตราจารย์ ดร. สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายเพิ่มเติมดังนี้

“สมองของเราเมื่อได้รับการกระตุ้นด้วยคลื่นเสียงช้าๆ สม่ำเสมอประมาณ 15 นาทีขึ้นไป จะทำให้เซลล์ประสาทของระบบประสาทสมองสังเคราะห์สารสื่อประสาทหลายๆชนิด บริเวณก้านสมองจะหลั่งสารสื่อประสาทชื่อ ซีโรโทนิน (serotonin) เพิ่มขึ้นซึ่งมีฤทธิ์คล้ายยานอนหลับ ช่วยการเรียนรู้ ลดความเครียด ลดอาการซึมเศร้า ลดระดับน้ำตาลในเลือด และเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทอื่นๆ เช่น เมลาโทนิน ซึ่งเปรียบคล้ายกับยาอายุวัฒนะ เพราะจะช่วยยึดอายุการทำงานของเซลล์ประสาท เซลล์ร่างกายให้ชีวิตยืนยาวขึ้น และยังมีคุณสมบัติช่วยให้นอนหลับ เพิ่มภูมิต้านทาน ทำให้เซลล์สดชื่นขึ้น รวมถึง โดปามีน มีฤทธิ์ลดความก้าวร้าวและอาการพาร์กินสัน นอกจากนี้ปริมาณของซีโรโทนินมีความสัมพันธ์ต่อการกระตุ้นการหลั่งสารสื่อ ประสาทอื่นๆ เช่น อะเซทิลโคลีน ช่วยในกระบวนการเรียนรู้และความจำ ช่วยขยายเส้นเลือด ทำให้ความดันลดลง และยังช่วยลดปริมาณ อาร์กินิน วาโซเปรสซิน ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมความก้าวร้าว

ความสมดุลของน้ำ และซีโรโทนินยังเข้าไปลดปริมาณของสารเคมีชนิดหนึ่งที่เป็นตัวกระตุ้นของการ ทำงานของต่อมหมวกไตให้ลดลง ส่งผลให้ระบบประสาทส่วนกลางทำงานน้อยลง ร่างกายจึงรู้สึกผ่อนคลาย ปลอดโปร่ง และไม่เครียด ภูมิต้านทานเพิ่มขึ้น”

ดังนั้น จุดสำคัญจึงอยู่ที่ร่างกายจะสามารถสร้างสารสื่อประสาทได้หรือไม่ อาจารย์สมพรเสริมว่า

“หลักการสำคัญอยู่ที่หากมีสิ่งเร้า หลายๆประเภทเข้ามารบกวนกระบวนการทำงานของคลื่นสมองพร้อม ๆ กัน ทำให้สัญญาณคลื่นสมองเปลี่ยนไป การหลั่งสารสื่อประสาทจะสับสน ไม่มีผลในการเยียวยา สิ่งเร้านี้มาจากหลายส่วน ทั้งตัวเอง เช่น บางคนปากสวดมนต์ แต่คิดฟุ้งซ่านไปเรื่องอื่นก็ไม่ได้ประโยชน์ และการเกิดเสียงดังอื่นๆ เข้ามารบกวนขณะสวดมนต์ เพราะประสาทสัมผัสของมนุษย์รับรู้ได้ไวและอ่อนไหวมาก เรามีตัวประสาทรับสัญญาณมากมาย เรารับสิ่งเร้าได้ทั้งจากทางปาก ตา หู จมูก การเคลื่อนไหว และใจ เหล่านี้ทำให้สัญญาณคลื่นสมองสับสนและเปลี่ยนไปร่างกายก็จะสร้างซีโรโทนิ นได้ไม่มากพอ”

และไม่ใช่เฉพาะสารสื่อประสาทที่มีประโยชน์เท่านั้นที่เราจะได้จากการสวด มนต์ แต่การสวดมนต์ยังทำให้อวัยวะต่างๆได้รับการกระตุ้น คล้ายกับการนวดตัวเองจากการเปล่งเสียงสวดมนต์

P1020700a

สวดมนต์กระตุ้นอวัยวะ

อาจารย์ เสถียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต อธิบายหลักการนี้ว่า “เวลาเราสวดมนต์นานๆ คำแต่ละคำจะสร้างความสั่นสะเทือนไม่เท่ากันตามฐานที่เกิดของเสียงหรือตาม วิธีเปล่งเสียง แม้ว่าเสียงจะออกมาจากปากเหมือนกัน แต่ว่าเสียงบางเสียงออกมาจากริมฝีปาก บางเสียงออกมาจากปุ่มเหงือก บางเสียงออกมาจากไรฟัน บางเสียงออกมาจากคอ ดังนั้น ถ้าเราสวดมนต์ถูกต้องตามฐานกรณ์จึงเกิดพลังของการสั่น”

และเมื่อเกิดพลังของการสั่น การสั่นนี้จะเข้าไปเยียวยาอาการป่วยได้อย่างไร อาจารย์เสถียรพงษ์อธิบายต่อว่า

“เวลาเราสวดมนต์ เสียงสวดจะไปช่วยกระตุ้นต่อมต่างๆ ซึ่งจะช่วยปราบเชื้อโรคบางชนิด เช่นการวิจัยของฝรั่ง พบว่า อักษร เอ บี ซี ดี จะช่วยกระตุ้นระบบน้ำย่อย ส่วนบทสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา เสียงอักขระแต่ละตัวมีคำหนักเบาไม่เท่ากัน บางตัวสั่นสะเทือนมาก บางตัวสั่นสะเทือนน้อย ทำให้ต่อมต่างๆในร่างกายถูกกระตุ้น เมื่อต่อมที่ฝ่อถูกกระตุ้นบ่อยๆ เข้า ก็คงคืนสภาพ อาการป่วยก็จะดีขึ้น”

นอกจากนี้ยังมีบทความที่อธิบายเกี่ยวกับการฝึกเปล่งเสียงเพื่อรักษาโรคจากเสียงต่างๆ เช่น

โอม …… กระตุ้นหน้าผาก

ฮัม ……. กระตุ้นคอ

ยัม ……. กระตุ้นหัวใจ

ราม …….กระตุ้นลิ่นปี่

วัม ……. กระตุ้นสะดือ

ลัม ……. กระตุ้นก้นกบ เป็นต้น

แต่ที่สำคัญมากไปกว่านั้น

การสวดมนต์ให้ประโยชน์ทางใจที่มีคุณค่ากับผู้สวด

รองศาสตราจารย์จุฑาทิพย์ อุมะวิชนี ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะศิลปะ

ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สรุปว่ามี 2 ข้อคือ

1. การสวดมนต์เป็นเครื่องช่วยให้เกิดสมาธิ โดยต้องสวดเสียงดัง ให้หูได้ยินเสียงตัวเอง และจิตใจต้องจดจ่ออยู่กับเสียงสวด เมื่อใจไม่ฟุ้งไปที่อื่น ใจอยู่กับเสียงเดียว จึงเกิดสมาธิ

2. ถ้าเข้าใจความหมายของบทสวดนั้นๆ จะทำให้เรามีความเลื่อมใสศรัทธาเพราะบทสวดของทุกศาสนาเป็นเรื่องของความดี งาม จิตใจก็จะสะอาดขึ้นบริสุทธิ์ขึ้น เป็นการยกระดับจิตใจของผู้สวด

เมื่อร่างกายที่รับสารสื่อประสาทที่มีประโยชน์และการกระตุ้นระบบอวัยวะ ต่างๆให้ทำงานเป็นปกติ เท่ากับว่าเราได้ผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ ย่อมทำให้ภูมิชีวิตดีขึ้นเป็นลำดับ ความป่วยก็จะดีขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยในต่างประเทศที่อาจารย์ สมพร สรุปให้ฟังว่า

การสวดมนต์ช่วยบำบัดอาการป่วยและโรคร้ายดังต่อไปนี้

1. หัวใจ                 2. ความดันโลหิตสูง

3. เบาหวาน            4. มะเร็ง

5. อัลไซเมอร์          6. ซึมเศร้า

7. ไมเกรน             8. ออทิสติก

9. ย้ำคิดย้ำทำ        10. โรคอ้วน

11. นอนไม่หลับ     12.พาร์กินสัน

สวดมนต์อย่างไรให้หายจากโรค สวดมนต์บำบัดมีวิธีการและจุดประสงค์ที่หลากหลาย สรุปออกมาได้ 3 แบบ

P1020704a

1. การสวดมนต์ด้วยตัวเอง

เป็นการเหนี่ยวนำตัวเอง จึงเป็นที่มาของคำว่า Prayer Therapy ถือเป็นวิธีการที่ดีที่สุด เพราะหากใครสักคนคิดที่จะสวดมนต์ นั่นหมายความว่าเขากำลังมีความปรารถนาดีต่อตนเอง วิธีการที่อาจารย์สมพรแนะนำคือ

– ควรสวดด้วยตัวเอง และไม่ควรสวดมนต์หลังกินอาหารทันที ควรทิ้งช่วงให้ร่างกายเริ่มผ่อนคลาย อาจเป็นเวลาก่อนเข้านอน

– หาสถานที่ที่สงบเงียบ

– สวดบทสั้น ๆ 3-4 พยางค์ โดยใช้เวลาประมาณ 10-15 นาทีขึ้นไป จะทำให้ร่างกายได้หลั่งสารซีโรโทนิน แต่หากสวดมนต์ด้วยบทยาวๆ จะได้ความผ่อนคลายและความศรัทธา

– ขณะสวดมนต์ให้หลับตา สวดให้เกิดเสียงดังเพื่อให้ตัวเองได้ยิน

2. การฟังผู้อื่นสวดมนต์

เป็นการเหนี่ยวนำโดยคลื่นเสียงจากผู้อื่น เช่น การฟังเสียงพระสวดมนต์เสียงผู้นำสวดในศาสนาต่างๆ หากผู้สวดมีสมาธิ เสียงสวดนั้นจะนุ่ม ทุ้ม ทำให้เกิดคลื่นที่ช่วยเยียวยา (healing) ผู้ฟัง แต่หากผู้สวดไม่มีสมาธิ ไม่มีความเมตตา เสียงสวดที่เกิดขึ้นอาจเป็นคลื่นขึ้นๆลงๆ นอกจากจะไม่ช่วยเยียวยาอาการป่วย อาจทำให้เสียสุขภาพได้

3. การสวดมนต์ให้ผู้อื่น

ปรากฏการณ์มากมายที่เราเห็นในสังคม เมื่อใครสักคนเจ็บป่วย เรามักสวดมนต์อธิษฐานขอให้ความเจ็บป่วยของเขาหายไป บางครั้งอยู่ห่างกันคนละซีกโลก เสียงสวดมนต์เหล่านี้จะมีผลทำให้สุขภาพเขาดีขึ้นจริงหรือไม่ อาจารย์สมพร อธิบายดังนี้

คลื่นสวดมนต์ เป็นคลื่นบวก เพราะเกิดจากจิตใจที่ดีงาม ปรารถนาดีต่อผู้ป่วย และเมื่อเราคิดจะส่งสัญญาณนี้ออกไปสู่ที่ไกลๆ มันจะเดินทางไปในรูปของคลื่นไฟฟ้า ซึ่งมนุษย์มีเซลล์สมองที่สามารถส่งสัญญาณคลื่นไฟฟ้าและสารเคมีได้ถึง สิบยกกำลังสิบ คลื่นนี้จึงเดินทางไปได้ไกลๆ

บางทีพ่อกำลังป่วยหนักอยู่ที่นี่ แต่ลูกอยู่ต่างประเทศ ก็สามารถรับคลื่นนี้ได้และรู้ว่ามีใครกำลังไม่สบาย ที่เราเรียกว่า ลางสังหรณ์หรือสัมผัสที่หก

การรับรู้ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้รับผู้ส่งด้วย ถ้าคนไหนรับสัญญาณคลื่นแห่งบทสวดมนต์ได้จึงได้ผล เหมือนเราเปิดวิทยุ ถ้าคนฟังปิดหูก็จะไม่ได้ยิน ดังนั้นถ้าต่างฝ่ายต่างเปิดรับคลื่นบวกที่เราส่งไปผู้ป่วยก็จะได้รับ และทำให้อาการป่วยดีขึ้นได้ ไม่ใช่เรื่องของความ

มหัศจรรย์ แต่เป็นหลักธรรมชาติทั่วไป

เลือกสวดมนต์อย่างไรดี

แล้วบทสวดที่เลือกควรใช้บทไหนดี อาจารย์สมพรแนะนำว่า

“น่าแปลกที่บทสวดในศาสนาส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีจังหวะขึ้นๆ ลงๆ เหมือนจังหวะเพลง จะมีโทนเสียงแค่ไม้เอกไม้โทเท่านั้น สักสามสี่พยางค์ มาสวดซ้ำไปมาได้ทั้งนั้น”

พระพุทธศาสนา มีบทสวดมากมายหลายบท ให้เลือกใช้ตามความชอบ ยกตัวอย่าง เช่น อิติปิโส หรือนะโมตัสสะ นะโมพุทธายะ หรือสัพเพสัตตา ฯลฯ เลือกท่อนใดท่อนหนึ่งแล้วสวดวนไปวนมา หรือโพชฌงค์ 7 ที่หลายคนนิยมสวดให้ตัวเองหรือคนไข้หายป่วย

images1

“ข้อที่น่าสังเกตคือ บทสวดโพชฌงค์ 7 จะมีความแตกต่างจากบทสวดอื่นๆคือ คลื่นเสียงของบทสวดจะมีแค่เสียงสระ มีแค่สองจังหวะ คลื่นเสียงจากบทสวดจึงทำให้เกิดคลื่นที่เยียวยาได้ดีที่สุด”

อยากให้ตัวเองและผู้อื่นมีสุขภาพกายใจเป็นสุขและยังน้อมนำกุศลจิต

เริ่มจากการสวดมนต์เป็นประจำด้วยสมาธิ

IMG00825-20110213-1132

ข้อแนะนำ

ทุกวันพระและให้สวดมนต์ก่อนนอนโดยให้เป็นกิจปฏิบัติที่สำคัญลำดับต้นๆ เลยทีเดียว แม้ว่าการสวดนั้นจะสวดได้แบบปากเปล่าหรือจะต้องดูหนังสือสวดก็ตาม สำคัญอยู่ที่การสวดมนต์นั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของความตั้งใจจริง มีสมาธิที่ดี นำจิตไปจับที่ตัวอักษรที่จะสวดออกมาอย่างจดจ่อ เปล่งเสียงให้ดังฟังชัดเจน โดยครูบาอาจารย์ได้อรรถาธิบายความถึงอานิสงส์ของการสวดมนต์ไว้ ดังนี้
1. อานิสงส์ที่เกิดกับสุขภาพร่างกาย
ผู้ที่นิยมสวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิสม่ำเสมอจะก่อให้เกิดผลดีต่อจิตยิ่ง จะมีความผ่องแผ้วสว่างบริสุทธิ์ จิตที่สว่างจะทำให้อารมณ์ผ่องใส ไม่โกรธง่าย ไม่เครียด แม้ถ้าจะต้องใช้ความคิดก็จะคิดแบบมีเหตุมีผล การที่จิตผ่องแผ้วถือเป็นโอสถทิพย์ที่สำคัญต่อร่างกายที่เดียว ส่งผลให้ร่างกายสร้างและหลั่งฮอร์โมนในร่างกายที่เป็นปกติ ทำให้ร่างกายสมดุล เมื่อร่ายกายสมดุลบุคคลนั้นจะอายุยืน คนที่มีอารมณ์ดี ไม่เครียด จะอายุยืนยาวเช่นพระสงฆ์ที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นสรณะจะอายุยืนบางองค์ เกินร้อยปีก็มีหรือคนโบราณที่ชอบสวดมนต์ ไหว้พระจะอายุยืนยาวมากไม่มีต่ำกว่าแปดสิบปี ซึ่งต่างจากคนสมัยปัจจุบันที่แก่เร็ว อายุสั้น เฉลี่ยแล้วไม่เกินหกสิบห้า หรือ อย่างมากก็เจ็ดสิบปี การมีจิตที่ผ่องใส เสมือนหนึ่งมียาอายุวัฒนะขนานเอกไว้ในตัวเอง ลักษณะนี้ ครูบาอาจารย์ท่านให้เรียกว่า “ การนำปัจจัยภายในมาสร้างอายุวัฒนะ”
2. อานิสงส์ให้เกิดจิตที่แกร่ง
หลังการสวดมนต์ไหว้พระและนั่งสมาธิ จะทำให้จิตมีกำลัง เป็นการบำรุงจิต จิตที่มีกำลังจะเข้มแข็ง ไม่อ่อนไหวง่าย สติดี หนักแน่น การมีจิตเป็นสมาธิสติจะคงอยู่เสมอ จะก่อให้เกิดปัญญาตามมา ปัญญาหมายถึง ระบบการคิดที่มีสติคอยกำกับ การคิดจึงอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผลไม่มีอารมณ์เข้ามาเจือปน ส่วนความคิดที่ขาดสติ เราเรียกว่า “อารมณ์” คนสมัยใหม่ที่ไม่นิยมนั่งสมาธิ ส่งผลให้สติไม่มั่นคง โกรธง่าย โมโหร้าย ขี้หงุดหงิด ไม่อดทนต่อแรงกดดันทั้งปวง มีอารมณ์แปรปรวนไม่สม่ำเสมอ เหตุเพราะจิตมีอ่อนกำลัง เราจึงพบว่าสถิติการฆ่าตัวตายของคนสมัยนี้ จึงมีอัตราที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นต้น รูปธรรมข้างต้นเหล่านี้คงจะพอแสดงให้เห็นถึงความต่างระหว่างจิตสองลักษณะคือ จิตแกร่งกับจิตอ่อน ได้เป็นอย่างดี ให้เปรียบเทียบง่ายๆ ว่า การที่เราต้องรับประทานข้าวปลาอาหารเพราะอาหารเป็นสิ่งที่มีความสำคัญกับ ชีวิต ฉันใดก็ฉันนั้น สมาธิก็จะเป็นอาหารที่สำคัญของจิต เช่นกัน
3. ได้อานิสงส์จากการได้โปรดดวงจิตวิญญาณ
ผู้ที่สวดมนต์ไหว้พระนั่งสมาธิถึงขั้นเป็นผู้มีจิตใสสว่างนั้น เป็นที่โปรดปรานของพวกวิญญาณเร่ร่อนยิ่งนัก เพื่อปรารถนาจะขอส่วนบุญ ส่วนกุศลให้ตนได้ร่มเย็น หรือพ้นทุกข์ หรือแม้กระทั่งหลุดพ้นจากการถูกจองจำ โดยปกติบทสวดมนต์จะมีความขลังอยู่ในตัวเพราะ เป็นอักขระภาษาที่มีมนต์ขลัง บางบทเป็นพระคาถาที่มีอานุภาพสูง โดยเฉพาะบทพุทธบารมี บทพระคาถาชินบัญชร มีอานุภาพสูง ยิ่งผู้สวดมีสมาธิจิตที่ดีแล้ว พลังแห่งเมตตา พลังแห่งอานุภาพจะแผ่กระจายปกคลุมไปไกล ด้วยอานุภาพของพลังจิตผู้สวดเอง เมื่อเสียงสวดและอักขระไปกระทบ หรือสัมผัสกับดวงจิตวิญญาณใด พลังเมตตาและพลานุภาพแห่งมนตรานี้จะกระตุ้นให้ดวงจิตวิญญาณเกิดความระลึกได้ เมื่อระลึกได้ก็จะสามารถดูดซับพลังบารมีทั้งปวงจากบทสวดอย่างเต็มที่ ดวงจิตที่มืดบอดก็จะสว่างผ่องใสขึ้นและหลุดพ้นจากบ่วงพันธนาการในที่สุด สภาพโดยธรรมชาติของวิญญาณทั้งหลายนั้น พวกเขาจะถูกจำกัด หรือถูกควบคุมพื้นที่เสมือนถูกจองจำ
ตีตรวน เหมือนนักโทษที่ติดอยู่ในคุก บางคนก็สำนึกได้เอง บางคนต้องได้รับการอบรมสั่งสอนก่อนจึงจะเกิดสำนึก เช่นกันดวงวิญญาณหลายดวงเกิดสำนึกในความดี ความชั่วที่ตนได้กระทำได้เอง เมื่อสำนึกได้ก็จะสามารถเปิดรับธรรมะได้เลยทันที การสำนึกได้เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังที่คนโบราณได้สั่งสอนบอกต่อกันมาว่า ก่อนตายให้นึกถึงพระ ความหมายนี้ก็คือ ให้เกิดรู้สำนึกนั่นเอง แม้ถ้าคนเราสำนึกได้ในวินาทีสุดท้ายขณะใกล้จะตายก็ถือว่า มีโอกาสที่จะรับรู้สัมผัสธรรมได้ ( จิตเปิด) มีโอกาสหลุดพ้น(จากการจำกัดบริเวณ )ได้ และภาษาอักขระในบทสวดดวงจิตวิญญาณสามารถก็สามารถเข้าถึงได้ ให้ดวงจิตวิญญาณเข้าใจได้ ก่อให้เกิดความกระจ่างได้และยิ่งเมื่อเราแผ่เมตตาตามอีก เขาก็จะได้อานิสงส์มากยิ่งขึ้น ดวงจิตวิญญาณเหล่านั้นชุ่มเย็นเป็นสุขเสมือนเรานำน้ำที่เย็นชโลมรดให้กับผู้ ที่หิวกระหาย ลุ่มร้อนมานานปี จนสุดท้ายก็จะสามารถหลุดพ้นไปได้ การที่เราทำให้วิญญาณตกทุกข์ได้ยาก ทุกข์ทรมาน ได้รับความสุข สว่างสดใส หรือ กระทั่งหลุดพ้นไปได้ นับว่าได้อานิสงส์มหาศาลทีเดียว สภาพความจริงในภพแห่งวิญญาณ นั้น ถ้ามนุษย์มองเห็นก็จะพบว่ามีวิญญาณเร่ร่อน ( สัมภเวสี )จำนวนมากมายทีเดียว
มีทุกหนทุกแห่ง เช่น คนมีจิตสว่างบางคนไปนอนที่ไหนก็จะมีวิญญาณมาดึง มาปลุก มาทำให้ไม่สามารถนอนได้ ปรากฏการณ์เช่นนี้ให้ท่านเข้าใจเป็นเบื้องต้นว่า เขามาขอส่วนบุญ เขาเห็นจิตของท่านที่สว่าง แสดงว่าท่านเป็นมีบุญที่สามารถแผ่ให้กับเขาได้ อย่าตกใจ อย่ากลัวให้ถือว่าเป็นโอกาสที่ดี วิธีปฏิบัติก็คือ สวดมนต์ แผ่เมตตาให้เขาเสีย แล้วท่านจะนอนหลับฝันดี เขาจะเฝ้าดูแลท่านตลอดทั้งคืน บางที่อาจให้โชคลาภกับท่านเสียอีก สถานที่บางแห่งวิญญาณอยู่กันเหมือนตัวหนอน เหมือนฝูงแมลงวัน ยิ่งดวงวิญญาณอยู่กันมากมายเช่นนี้ผู้สวดมนต์ แผ่เมตตา ภาวนาสมาธิให้ ก็จะได้อานิสงส์มากเท่าทวีคูณ การสวดมนต์ที่แท้ก็คือ การแผ่เมตตานั่นเอง
การทำจิตให้นิ่งเป็นสมาธิบ่อยๆ เสมือนเราอยู่ในที่สูง อานิสงส์ที่เราสร้าง บุญกุศลที่เราทำจะเปรียบเสมือนเราเทน้ำให้ไหลลงสู่เบื้องล่าง ผู้อยู่เบื้องล่างที่หิว กระหายก็จะรอรับอย่างชุ่มเย็น มีความปีติยินดี
4. ได้อานิสงส์จากโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลาย
นอกจากดวงจิตวิญญาณแล้ว ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่ปรารถนาจะได้รับพลังเมตตาบารมีจากการสวดมนต์ ไหว้พระและนั่งสมาธิเช่นกัน ซึ่งก็คือพวกสัตว์เล็ก สัตว์น้อย สรรพสัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้นนั่นแหละ พลังแห่งการแผ่เมตตาบารมีนี้มีอานุภาพยิ่งใหญ่ เป็นพลังแห่งพุทธานุภาพ เป็นพลังฝ่ายบุญกุศล การสวดมนต์ ไหว้พระนั่งสมาธิ และแผ่เมตตาบ่อยๆ จะทำให้จิตมีความแข็งแกร่ง พลังแห่งการแผ่เมตตาก็จะมีอานุภาพที่แรงครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างขวางยิ่ง ขึ้น นั่นย่อมหมายถึงไปสู่สรรพสัตว์มากจำนวนยิ่งขึ้นตามเบื้องต้นสามารถพิสูจน์ ได้จริง ไม่ว่ามด ยุง แมลง ฯลฯ ล้วนต้องการ และแสวงหาพลานุภาพแห่งเมตตาอย่างหิวโหยจริง เช่นผู้ปฏิบัติธรรมบางคนพบว่ามีมดขึ้นมาเกาะบนกลดขณะที่ท่านกำลังที่ภาวนา อยู่จำนวนมาก หรือมียุงมากัดจำนวนมากขณะนั่งสมาธิ แต่เมื่อท่านกล่าวแผ่เมตตาให้แล้ว พวกเขาเหล่านั้นก็จะจากไปของเขาเอง ไม่ทำร้าย ไม่รบกวนเราอีกเหตุเพราะพวกเขาได้รับแล้วนั่นเอง ลักษณะเช่นนี้จะเป็นเรื่องเดียวกันกับที่ครูบาอาจารย์ที่กล่าวไว้ว่า พวกมด ยุง แมลง นั้นพวกเราสามารถพูดกับเขาได้นั่นเอง เมื่อเราทำให้สรรพสัตว์ทั้งหลายที่ได้ทุกข์หลุดพ้นจากทุกข์ ช่วยให้สรรพสัตว์ที่ได้สุข ให้ได้สุขยิ่งๆขึ้นไป เราก็ได้อานิสงส์แห่งการนี้ตอบคืน อานิสงส์เช่นนี้ เป็นอานิสงส์ที่ก่อให้เกิดบารมีที่ยิ่งใหญ่มากทีเดียว เราเรียกว่า “ อานิสงส์ทางทิพย์”

IMG00837-20110213-1151
 

5. ได้อานิสงส์จากพรเทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์
ทุกครั้งที่เราสวดมนต์ หลังจากสวดบทบูชาพระรัตนตรัยแล้ว เราก็มักจะสวดบทชุมนุมอัญเชิญเทวดาเสมอ (สักเคฯ) เป็นการบอกกล่าวอัญเชิญเทวดาให้มาร่วมพิธีการสวดมนต์ เทวดาเทพ เทพารักษ์ทั้งหลายโปรดการฟังสวดมนต์มาก เพราะถือเป็นพิธีกรรมแห่งพุทธที่มีมนต์ขลังมีความศักดิ์สิทธิ์ ดังที่ได้เรียนไปแล้ว บทสวดทุกบทเป็นอักขระ มีพลังพุทธานุภาพสูง ใครได้ยินได้ฟังได้ซึมซับก็จะเกิดความสว่างไสว เกิดพลังบารมี มนุษย์ที่สวดมนต์ไหว้พระประจำเทวดา จึงเป็นที่โปรดปรานของเทวดา ไปที่ไหนมีเทวดาปกป้องคุ้มครอง
ให้โชคให้ลาภ ให้ความมั่งมีสีสุขคนโบราณจึงย้ำหนักหนาให้ลูกหลานสวดมนต์ก่อนนอน นี่คือความหมายที่แท้จริงของการสวดมนต์ก่อนนอน เทวดาก็ต้องการสร้างบารมีของตนให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไปเช่นกัน เมื่อเราสวดมนต์ ไหว้พระ แผ่เมตตา ทำให้เทวดาได้บารมีเพิ่ม ได้ความสว่างเพิ่ม เทวดาก็จะอำนวยอวยพรชัยมงคลให้กับเรา เป็นการตอบแทนคุณเรา หากเราสังเกตให้ดี เราจะพบว่า ทุกพิธีกรรมทางพุทธศาสนาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันจะต้องเกี่ยวข้อง เชื่อมโยงกับเทวดาเสมอ ก่อนเริ่มพิธีกรรมจึงต้องมีการสวดบวงสรวงอัญเชิญทวยเทพเทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์มาร่วมพิธีก่อนเสมอ พุทธองค์ทรงสำเร็จมรรคผลด้วยทวยเทพ เทวดาช่วยเหลือ ชี้แนะ ในทางกลับกันเทวดาก็พึ่งพาธรรมจากพุทธองค์ หรือพุทธสาวก เพื่อสร้างบารมี ชี้ทางสว่างเสมือนน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า องค์ทวยเทพเทวากับพุทธศาสนาจึงแยกกันไม่ออก เป็นของคู่กัน
6. สามารถแผ่เมตตาช่วยคนเจ็บป่วยได้
อานิสงส์การแผ่เมตตานั้น นอกจากสรรพสัตว์และดวงวิญญาณทั้งหลายแล้ว มนุษย์ทั่วไปที่นอนเจ็บป่วยทนทุกข์ทรมานก็สามารถรับอานิสงส์ของการแผ่เมตตา ได้ โดยให้เรากล่าวว่า ดังนี้ “ อานิสงส์ของการสวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิ ของข้าพเจ้าในวันนี้ ขอส่งให้ (ชื่อ-สกุล ผู้ป่วย)” เพียงเท่านี้เองก็จะก่อให้เกิดผลดีต่อผู้ป่วยมหาศาล โดยเฉพาะผู้แผ่เมตตาเป็นผู้บุญบารมีมากยิ่งก่อให้เกิดผลเร็วขึ้น โดยมาตรฐานที่จะให้เกิดผลสมบูรณ์ ให้ทำติดต่อกัน 33 วัน สภาพร่างกายและอำนาจจิตของผู้ป่วยก ็จะดีขึ้นอย่างชัดเจน แม้บางรายสังขารจะไม่ดีก็ตาม ความทุกข์ทรมานจะลดลงจิตจะดี คนเราเมื่อจิตดีก็มีความสุข อย่างไรก็ดีต้องทำความเข้าใจหลักของเวรกรรมแต่ละคนด้วย (ผู้ป่วย) ผู้ป่วยบางรายอาจจะยกเว้นไม่เป็นไปตามมาตรฐานนี้ อันเนื่องจากอยู่ในภาวะชดใช้กรรมของเขาเอง และอีกประการหนึ่งให้เข้าใจในเรื่องวิถีจิตของผู้ป่วยต้องเปิดด้วย ถ้าจิตปิดก็รับไม่ได้ แต่หากผู้ป่วยเป็นผู้ปฏิบัติธรรมแล้วก็จะยิ่งเกิดผลเร็วทันตาเห็น ใช้เวลาเพียง 16 ถึง 24 วันเท่านั้นก็เพียงพอ นั้นหมายถึงเขาเปิดประตูจิตไว้รออยู่แล้วนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ความเป็นสายเลือดสายโลหิตระหว่างผู้แผ่อานิสงส์และผู้ป่วย ก็เป็นข้อยกเว้นพิเศษอีกเช่นกัน เพราะความเป็นสายเลือดการส่งอานิสงส์บุญกุศลจะยิ่งรวดเร็วที่สุด
เกิดอานุภาพแรงที่สุดเช่นกัน
ดังกล่าวมาข้างต้น คงพอจะทำให้ทุกท่านเข้าใจ เรื่อง อานิสงส์ หรือ ประโยชน์ที่จะรับจากการสวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิ ตลอดจนการแผ่เมตตาเป็นอย่างดีแล้ว อย่างไรก็ดีนี่เป็นเพียงประโยชน์เบื้องต้นเท่านั้น
ความจริงแล้วมีอานิสงส์ที่จะได้รับทางอ้อม ทางลึกอีกมากมายกว่านี้นักแต่เป็น “ ปัจจัตตัง” ของแต่ละคนไป
การอ่านบรรยายข้างต้นเชื่อว่าสามารถทำให้ท่านเข้าใจได้แต่จะให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง ท่านต้องปฏิบัติเอง
ธรรมะคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ไม่มีเครื่องมือชนิดใดสามารถมาวัดประสิทธิภาพ วัดความจริงได้

เป็นเรื่องเหนือวิทยาศาสตร์ ต้องวัดผลด้วยการปฏิบัติเอง

DSC_1986

บทความจาก นิตรสารชีวจิต ฉบับแรกของเดือนมกราคม 2551

พระราหู และการบูชาพระราหู   Leave a comment

พระราหู

พระอิศวรผู้เป็นเจ้าสร้างพระราหูขึ้นโดยใช้ ศีรษะผีโขมด ๑๒ ตัวมาป่นลง แล้วประพรมด้วยน้ำอมฤตก็บังเกิดเป็นองค์พระอสุรินทรเรืองฤทธิ์ (ดำสลัว) (Dark) ทรงทิพยสุวรรณแสงสีใสสะอาด และมีวิมานเป็นสีนิลมีมหาสุบรรณราช(ครุฑ) เป็นพาหนะ สถิตในทิศพายัพ

ตำนานกล่าวว่า

ในอดีตปฐมกาลล่วงมาแล้ว พระอาทิตย์เกิดเป็นพญานาค พระพฤหัสบดีเกิดเป็นพระอินทร์ พระเสาร์เกิดเป็นพญานาค และพระอังคารเกิดเป็นพญาราชสีห์ ดำริห์พร้อมใจกันจะสร้างสระน้ำ ไว้ให้เป็นที่อาศัยแก่มนุษย์ และ เทวดา จึงพากันไปปรึกษาพระราหู

พระราหูว่า เราไม่ได้อาศัยน้ำ และ แผ่นดินนั้นด้วย แต่นั้นมา เทวดาทั้ง ๔ ก็เคียดแค้นต่อพระราหู ครั้นประชุมกันสร้างมหาสระชื่อว่า “สุรามฤต” เสร็จแล้วก็คิดอ่านช่วยกันรักษา

ฝ่ายพระอินทร์ รักษาทางด้านเขาพระสุเมรุ พระยาครุฑรับรักษาทางด้านเขาสตบริภัณฑ์ พระยาราชสีห์รับรักษาทางป่าหิมพานต์ พระยานาครับรักษาทางดานมหาสมุทร อยู่จำเนียรกาลนานมาเกิดพิบัติเหตุวันหนึ่งพญาครุฑไล่จะจิกกินพญานาค พญานาคหนีไปพึ่งพระราหู ขอร้องให้ช่วยชีวิต พระราหูเห็นดังนั้น จึงตวาดว่า เหวยครุฑใจบาป เอ็งมาไล่พวกข้าทำไม พญาครุฑตอบว่า นาคนี้เป็นอาหารของเรา พระราหูก็โกรธทะยานเข้าวิ่งไล่ พญาครุฑก็แล่นหนีไปพึ่งพระอินทร์ พระราหูมิอาจไล่เข้าไปได้ ก็หยุดอยู่ และเกิดกระหายน้ำเป็นกำลัง จึงลงไปกินน้ำในสระสุรามฤต พระอินทร์เห็นดังนั้น ก็ขว้างจักรไปถูกกายพระราหูขาดสองท่อน เดชะอำนาจที่ได้ดื่นน้ำสุรามฤต จึงมิตาย

ตามหลักพยากรณ์

พระราหูสร้างด้วยศีรษะผีโขมดป่า ดังนั้น นิสัยจึงเป็นผี คือ ชอบกินเครื่องเซ่น เช่นกุ้งพร่า ของยำ และ อาหารชนิดสุก ๆ ดิบ ๆ นอกนั้นยังชอบเครื่องดื่มมึนเมาทุกชนิด เช่น กัญชา ยาฝิ่น เป็นต้น

นิสัยคล้ายคลึงกับพระเสาร์ โหราจารย์บางคนใช้พระเสาร์พยากรณ์แทนก็มี ซึ่งไม่ใคร่ผิดจากกันเท่าใดนัก พระราหูเป็นสหายรักสนิทกับเสาร์ และนอกจากเสาร์แล้ว ราหูไม่ยอมคบหาสมาคมกับพวกดาวพระเคราะห์ใดๆ เลย มีนิสัยชอบยอชอบสรรเสริญ ชอบฟังเสียงที่เพราะเสนาะหู เช่น ดนตรี และความรื่นเริงบันเทิงใจเป็นที่สุด โกรธง่ายหายเร็ว ใจคอบึกบึน องอาจ กล้าหาญ ไม่เกรงกลัวสิ่งใด แต่ถ้ายอมกลัวแล้ว ก็ยอมอย่างราบคาบจริงๆ ชอบผจญภัย เป็นประมุขของเหล่าพาล ขึ้นชื่อนักเลงแล้วเป็นของราหูทุกชนิด ลงได้รักก็รักจนหลง ลงได้เกลียดใครก็เกลียดไม่รู้หาย ทำนองพวกอสุรยักษ์ ตามพยากรณ์บางแห่งเรียกอสุราก็มี ถือว่าเป็นยักษ์เอาทีเดียว

ตามอิทธิฤทธิ์ของดวงดาว ถือว่าราหูคือธาตุลมพายุ มีลักษณะร้ายแรง สิ่งใดที่กีดขวางต้องวินาศไปหมด ถ้าราหูให้ร้ายแม้จะกำเนิดในตระกูลเศรษฐีอันอุดมไปด้วยทรัพย์ ก็ล้างผลาญเสียมิให้เหลือหลอ แม้นราหูจะเป็นตัวดี หากกุมลักขณาก็ยังข่มขี่ให้ซวดเซไปในอารมณ์แปลก ๆ ได้ ราหูเมื่อผลาญได้เท่าใด ก็อาจสามารถที่จะช่วยทำคุณให้รวดเร็วดุจกัน ดังคำกล่าวว่า “ให้คุณอนันต์โทษมหันต์” สามารถช่วยตนเอง แล้วยังช่วยผู้อื่นได้ด้วย

อนึ่งราหูนี้ ตามตำนานกล่าวว่า เคยไปลักน้ำทิพย์กิน ถูกขว้างด้วยจักรตัวขาดครึ่งท่อน อาศัยที่ได้กินน้ำทิพย์ จึงมิตาย

ฉะนั้นราหูจึงมักมีโรคประจำท้องเสมอ ตามมหาทักษากล่าวว่า เมื่อราหูเสวยอายุนั้นร้ายกาจนัก เท่าที่ได้สังเกต มักป่วยตั้งแต่สะดือลงมาถึงหัวเข่าในร่มผ้า มักจะเป็นโทษของราหูดุจกัน ไม่รู้จักอาย และเกรงใจใคร คือความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่ เจ้าโวหารเล่นลิ้นผิดผันด้วย

ถ้าหากราหูนำหน้าลัคขณาแล้วมีเสาร์ตามหลัง หรือมีเสาร์ตามหน้าราหูตามหลังแล้ว ใน ๒ ประการนี้มีแก่ผู้ใด ผู้นั้นมักมีนิสัยกล้าหาญ ไม่เกรงกลัวอันตรายใด ๆ ทั้งสิ้น แม้กระทั่งความตาย ตัวอย่างเช่น ในดวงพระราชสมภพของสมเด็จพระนเรศวรของเราทำนองนี้ ยอมปล้นค่ายอย่างทหาร เอาพระชนม์ชีพเข้าแลก จนประสบชัยชนะ แต่ถ้าเสาร์ราหูเล็งกันแล้ว เจ้าชาตามักตายด้วยอาการรวดเร็ว  แม้เจ้าชาตาจะสูงอายุ ราหูก็ยังทรงอำนาจ แม้จะเป็นดาวพระเคราะห์ที่ต่ำกว่าดาวทั้งหลาย แต่ก็เป็นที่เกรงกลัวของหมู่ดาวสูงสุด เพราะความเป็นพาลของพระราหู และมีดีอีกอย่างหนึ่งของราหูคือไม่เบียดเบียนข่มเหงผู้น้อยที่ยอมเกรงกลัว  หรือผู้ที่อยู่ใต้อำนาจ

ถ้าเป็นหัวหน้า พวกบริวารก็มีความยำเกรง รักใคร่นับถือเป็นที่พึ่งได้อย่างดี ถ้าเป็นนายทหารชั้นผู้บังคับบัญชา ย่อมเป็นที่รักใคร่นับถือของบรรดาผู้อยู่ใต้อำนาจ เพราะไม่ถือตนไว้ยศ มีทรัพย์ก็ไม่ยึดถาวร เพราไม่ตระหนี่ ทำอะไรใหญ่โตมโหฬาร คิดใหญ่ใฝ่สูง แต่ไม่ยั่งยืนถาวร ทำคุณให้แก่ใครไม่ขึ้นก็ชอบทำ เพราะเห็นเป็นของสนุก เวลาราหูมีอิทธิฤทธิ์แข็งกล้า พฤหัสบดีอยู่สูงก็ทำอะไรไม่ได้ ต้องพ่ายแพ้แก่ฝ่ายต่ำในบางเวลาเช่นเดียวกัน

อนึ่งราหูนี้ไม่มีเรือนชาตาที่อยู่ ต้องไปอาศัยเรือนเสาร์ในราศีกุมภ์เป็นเรือนครอง และไปอยู่ในราศีตุลย์ เป็นราชาโชค อุจจาวิลาศในเรือนศุกร์กับราศีเมถุน เป็นปกิณกะโชคในเรือนพุธ เพราะใน ๓ ราศีนี้เป็นธาตุลม ราหูอาศัยได้

ฉะนั้น ราหูจึงเป็นเจ้าแห่งความดุร้ายเก่งกาจในเรือนเสาร์ เป็นอาจารย์และแรงกามคุณในเรือนศุกร์ เจ้าโวหารพลิกแพลงในเรือนพุธ ดาวราหูนี้ เป็นดาวสำคัญในการพยากรณ์ที่เต็มไปด้วยอำนาจตามตำราโบราณ แต่งเป็นกลอนทำนายไว้ว่า “ราหูมาต้องลักขณา แม้สูงศักดิ์สุราลัยจะจากยศไกร วิบากใจไฟเผาผลาญ” ในโชคเทวฤทธิ์ก็ว่า “อสุรินทร์ทับลักขณาในบาปเคราะห์ จรไปเข้าทับกันทั้งจันทร์มาต้องลักขณา ท่านทายตัดชีวาถึงอาสัญ” ที่ร้ายก็ร้ายเอามากดังนี้

ถ้าจะถึงฝ่ายดีก็ดีเลิศ เช่น ตำราว่าพฤหัสบดี เสาร์ ราหู ทั้ง ๓ หมู่มาเป็นศิริต้องลักขณา วัตะสังคี มีบริวารเหลือหลาย ลูกไพร่นักเป็นนาย แม้เชื้อสายจะครองเมือง เวลาดี และร้ายเทียบเสมอ พฤหัสบดี ได้ในด้านตรงข้าม

อนึ่งตำนานของอินเดีย กล่าวว่า ราหูนี้เป็นหมุดจุดสกัดของโลก อยู่ตรงข้ามกับดาวพระเกตุ มีลูกเป็นดาวหางหรือผีพุ่งใต้ ราหูนี้มี ๒ ตอน คือ เมื่อขาดโดยถูกจักรของพระอินทร์แล้ว คงเป็นดาวตอนหนึ่งมาเป็นโลกพิภพ คือ โลกที่เราอยู่ตอนหนึ่ง โหรฮินดูเกรงขามราหูไม่น้อยกว่าเสาร์ ส่วนโหรฝรั่งไม่สู้กลัวราหู แต่กลัวเกตุ ซึ่งเป็นท่อนหางมากกว่า อย่างฮินดูกล่าวว่า ถ้าหางไปฟาดอะไรเข้า จะทำให้สิ่งนั้นวอดวายเสียหาย ส่วนท่อนหัว ซึ่งเป็นพิภพนี้ กระทำความเที่ยงไม่มีในโลก โดยจิตใจของมนุษย์ย่อมหวั่นไหวมัวเมาไปด้วยอำนาจ ของธาตุราหู

ในการยกเอาราหูขึ้นมาพยากรณ์มากกว่าดาวนพ เคราะห์อื่น ก็เพราะว่าราหูแม้จะจรในจักรราศี ก็ไม่เหมือนดาวต่างๆ คือ เดินย้อนพวกดาวอื่น และเกตุก็เดินย้อนเช่นเดียวกันกับราหู จึงถือกันว่า หัวกับหางไปด้วยกัน และเป็นดาวบาปเคราะห์

พระราหู

การบูชาพระราหู

การทำบุญใส่บาตร ทำทาน ไหว้พระ สวดมนต์ เจริยสมาธิ แผ่เมตตา สิ่งเหล่านี้เมื่อทำแล้ว ทำให้เทพยดามีความสุข คำว่าเทพยดานั้นมีพระราหูรวมอยู่ด้วย เมื่อปฏิบัติได้ดังนี้ก็จะทำให้มีจิตใจเบิกบานและมีสติ ก็เป็นการบูชาพระราหู ยิ่งถ้าเรามีจิตใจน้องระลึกถึงพระราหูในขณะที่ทำสิ่งที่เป็นบุญกุศลเป็นมงคลทั้งหลายนี้ ก็จะเป็นการบูชาพระราหูที่ดียิ่ง จะทำให้การดำเนินชีวิตเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

คาถาใช้ภาวนา

คะ พุท ปัน ทู ทัม วะ คะ (พุธกลางคืน)

การบูชาที่นิยมทำกันอีกอย่างคือ การไหว้ของดำ 8 อย่าง เช่น 1. เฉาก้วย 2. ขนมเปียกปูน 3. กาแฟดำ 4. องุ่นดำ  5.ไก่ดำ 6.โค๊ก-แป๊ปซี่   7.ไข่เยี่ยวม้า  8.ข้าวเหนียวดำ เป็นต้น โดยใช้ธูป 8ดอก เทียน 8 เล่ม ตั้งโต๊ะปูผ้าขาวไหว้ นิยมไหว้ในวันพูธตอนกลางคืน ข้อแนะนำ มีบายศรีปากชาม   1 คู่ ไหว้ช่วงเวลา 22.00-02.00  น. จะดีมาก

ข้อคิดจากข้าพเจ้า

– พระราหูมีกำลัง 12 เมื่อเสวยหรือแทรกดวงชะตา จะใช้หลัก 12  ปีในการกำหนดช่วงเวลา เมื่อจัดของไหว้ แปดอย่างครบแล้ว ถ้าใช้ธูป 12 ดอก หรือ เทียน 12 เล่ม จะได้ทั้งเลข 8 แทนองค์พระราหู และกำลั12 จะได้ครบทั้งสองอย่างในคราวเดียวกันจึงจะดี

-เมื่อพระราหูมาเสวยหรือแทรกดวงชะตาก็ทำพิธีรับหรือบูชา เมื่อท่านเสด็จมาตามกำหนด ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ตามบัญญัติของเทพยดาดาวเคราห์อายุจร และเมื่อถึงกำหนดเสด็จกลับก็ควรทำพิธีส่งเสด็จกลับ ถือว่ามารับ กลับส่งด้วยความยินดี จะเป็นมงคลยิ่ง แต่บางท่าน มารับและส่งกลับทันทีเพื่อหลีกเลี่ยงอิทธิพลของพระราหูด้วยความกลัว แต่ตามหลักโหราศาสตร์นั้น หากยังไม่ถึงกำหนดแล้วเราส่งท่านกลับก่อน เหมือนถูกไล่ออกจากบ้าน ถ้าเป็นท่าน ๆ จะพอใจไหม หากทำเช่นนั้น พระราหูท่านคงกล่าวโทษเราไม่น้อย ตามความเห็นของข้าพเจ้า ควรส่งท่านเสด็จกลับเมื่อถึงกำหนดจึงจะเป็นดีที่สุด ส่วนในช่วงเวลาที่พระราหูเสวยอยู่นั้น ก็ให้ปฏิบัติตามที่กล่าวข้างต้นก็เป็นอันใช้ได้

ขั้นตอนการบูชาพระราหู

  1. ตั้งนะโม 3 จบ
  2. บูชาพระรัตนตรัย
  3. แผ่เมตตา
  4. ชุมนุมเทวดา
  5. กล่าวเชิญเทพยดาและพระราหู
  6. บอกกล่าวพระราหูตามธุระที่จัดพิธีขึ้น รับ ส่ง หรือ บูชา
  7. ถวายเครื่องสักการะ
  8. บอกกล่าวขอขมา ขอพร
  9. ลาของไหว้

ขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้นเป็นโดยประมาณตามที่ข้าพเจ้าเคยทำพิธี แต่ถ้าเป็นการไหว้บูชาขอพร ก็ตัดข้อความรับและส่งออก เป็นเป็นคำอธิฐานเพื่อความสุขความเจริญ โดยใช้ขั้นตอนเดียวกันนี้เป็นหลัก แต่จะมีบทสวดหรือการอธิฐานจิตเพิ่มเติมเพื่อให้พิธีสมบูรณ์ยิ่งขึ้นตามแต่ท่านผู้ทำพิธีกำหนดเพื่อความศักด์สิทธิ์ยิ่งขึ้น

การบูชาเทพยดาดาวเคราะห์   Leave a comment


ความเชื่อเรื่อง อำนาจอิทธิพลของดวงตาวแต่ละดวงเกิด ว่าเป็นมิตร และ เป็นศัตรูกัน มีผลต่อดวงชะตาชีวิตของมนุษย์ และ  การแก้ดวงชะตา เสริมดวงชะตา สะเดาะเคราะห์ มีการทำพิธีกันมากมายหลายรูปแบบ พระอาจารย์ของข้าพเจ้า-พระอาจารย์บุญมาก สัญญโม เคยบอกไว้ว่า ใช้การทำบุญ ใส่บาตร ถวายพระ แทนพิธีกรรมต่าาง ๆ ก็ได้ โดยทำการตั้งจิตอธิฐานด้วยความตั้งใจถวายบุญกุศล แด่เทพยดาดาวเคราะห์นั้นด้วยการกล่าวโดยประมาณดังนี้

แบบแรก: กรณีทราบวันเกิด ดาวเสวย ดาวแทรก



ตั้งนะโม 3 จบ

“ด้วยบารมี พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสังฆเจ้า คุณครูอุปฌาอาจารย์ เทพยดาฟ้าดิน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย อีกทั้งเทพยาดาวเคราะห์ทุก ๆ พระองค์ ซึ่งมีพระเกตุรักษาอยู่ท่ามกลางคัมภีร์มหาทักษา ข้าพเจ้าชื่อ…………………….. นามสกุล …………………………….. เกิดวันที่ ……………………………. มี ..(วันเกิด)….. เป็นเจ้าเรือนชะตาวันเกิด (คือ วันเกิดของคนทำพิธีอธิฐาน เช่น มีวันอาทิตย์เป็นเจ้าเรือนชะตาวันเกิด เป็นต้น) และในขณะนี้ มี ……….เสวย ………แทรก (ใส่ชื่อดาวที่เสวยอายุ และแทรกอายุ ในขณะทำพิธี) ด้วยเทพบัญญัติ พระพรหมลิขิต ถึงความเป็นไปของดวงชะตาของข้าพเจ้า ตามลำดับ

ในวันนี้ ข้าพเจ้าชื่อ…………………….. นามสกุล …………………………….. เกิดวันที่ ……………………………. ได้จัด เช่น ผ้าไตรจีวร อาหาร คาวหวาน ธุปเรียน ดอกไม้ ปัจจัย พร้อมทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ นำมาถวายแด่พระภิษุสงฆ์ เพื่อถวายบุญแด่เทพยดาดาวเคราะห์ ทุกพระองค์ ซึ่งมี ..(วันเกิด)…..เป็นเจ้าเรือนชะตาวันเกิด และในขณะนี้ มี ……….เสวย ………แทรก ในขณะนี้ ขอพระองค์ท่านโปรดเมตตาเสด็จมาร่วมบุญกุศลและอนุโมทนาบุญกับข้าพเจ้าในวันนี้ด้วยเถิด “

เมื่อถวายของแด่พระสงฆ์เรียบร้อยแล้ว ก็ทำการถวายบุญกุศลแด่เทพยดาดาวเคราะห์ต่อไป ดังนี้

การถวายบุญกุศลแด่เทพยดาดาวเคราะห์

“ข้าพเจ้าชื่อ ข้าพเจ้าชื่อ…………………….. นามสกุล …………………………….. เกิดวันที่ …………………………….

ขอถวายบุญกุศลแด่เทพยดาดาวเคราะห์ทุกพระองค์ และมี ……….เสวย ………แทรก อายุจรตามลำดับ ด้วยบุญกุศลนี้ ขอให้พระองค์มีความปิติยินดี เกษมสำราญ ทุกอริยบท ทุกเมื่อเทอญฯ”

เมื่อถวายบุญกุศลเรียบร้อยแล้ว ก็ให้อธิฐานขอพรต่อไปดังนี้

การขอพรเพทยาดาวเคราะห์

“เมื่อพระองค์ท่านรับทราบในบุญกุศลและอนุโมทนาบุญกับข้าพเจ้าแล้วในวันนี้ ด้วยอำนาจบุญบารมีของพระองค์ท่าน โปรดเมตตา ดูแลรักษาและดลบันดาลให้การดำเนินชีวิตของ ข้าพเจ้า ชื่อ…………………….. นามสกุล …………………………….. ได้ผ่านพ้นอุปสรรคไปได้ด้วยดี มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง อุบัติเหตุเพศภัยไม่มากล้ำกราย มีความสุขความเจริญ พบสิ่งที่ดีเป็นมงคลในชีวิตของข้าพเจ้าตลอดไปด้วยเทอญ ฯ”

แบบที่สอง : กรณีไม่ทราบวันเกิด ไม่ทราบดาวเสวย และ ดาวแทรก หรือ ทราบวันเกิดอย่างเดียว ไม่รู้ดาวเสวย ดาวแทรก ก็ได้

ตั้งนะโม 3 จบ

“ด้วยบารมี พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสังฆเจ้า คุณครูอุปฌาอาจารย์ เทพยดาฟ้าดิน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย อีกทั้งเทพยาดาวเคราะห์ทุก ๆ พระองค์ ซึ่งมีพระเกตุรักษาอยู่ท่ามกลางคัมภีร์มหาทักษา ด้วยเทพบัญญัติ พระพรหมลิขิต ถึงความเป็นไปของดวงชะตามนุษย์ ด้วยอำนาจบารมีของเทพยดาดาวเคราะห์ที่ทรงทำหน้าที่ตระเวรไปรอบจักราศี ซึ่งเป็นมูลเหตุบันดาลผลดี ร้ายในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย และข้าพเจ้า ชื่อ …………………….. นามสกุล …………………………….. (ถ้าทราบวันเกิดก็บอกไป ถ้าไม่ทราบก็บอกชื่อนามสกุลอย่างเดียว ) ตามกำลังวันเพทยาดาดาวเคราะห์ วันเกิด เสวย และ แทรก ตามมหาทักษาอายุจรตามลำดับ

ในวันนี้ ข้าพเจ้าเชื่อ ………… สกุล ……………… เกิดวันที่ ………. (ถ้าทราบ) ได้จัด เช่น ผ้าไตรจีวร อาหาร คาวหวาน ธุปเรียน ดอกไม้ ปัจจัย พร้อมทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ นำมาถวายแด่พระภิษุสงฆ์ เพื่อถวายบุญแด่เทพยดาดาวเคราะห์ ทุกพระองค์ โดยมีพระเกตุรักษาอยู่ท่ามกลางตามคัมภีร์มหาทักษา ขอพระองค์ท่านโปรดเมตตาเสด็จมาร่วมบุญกุศลและอนุโมทนาบุญกับข้าพเจ้าในวันนี้ด้วยเถิด “

เมื่อถวายของแด่พระสงฆ์เรียบร้อยแล้ว ก็ทำการถวายบุญกุศลแด่เทพยดาดาวเคราะห์ต่อไป ดังนี้

การถวายบุญกุศลแด่เทพยดาดาวเคราะห์

“ข้าพเจ้าชื่อ ข้าพเจ้าชื่อ…………………….. นามสกุล …………………………….. เกิดวันที่ ………………………(ถ้าทราบ)

ขอถวายบุญกุศลแด่เทพยดาดาวเคราะห์ทุกพระองค์โดยมีพระเกตุรักษาอยู่ท่ามกลางตามคัมภีร์มหาทักษาอายุจรตามลำดับ ด้วยบุญกุศลนี้ ขอให้พระองค์มีความปิติยินดี เกษมสำราญ ทุกอริยบท ทุกเมื่อเทอญฯ”

เมื่อถวายบุญกุศลเรียบร้อยแล้ว ก็ให้อธิฐานขอพรต่อไปดังนี้

การขอพรเทพยดาดาวเคราะห์

“เมื่อพระองค์ท่านรับทราบในบุญกุศลและอนุโมทนาบุญกับข้าพเจ้าแล้วในวันนี้ ด้วยอำนาจบุญบารมีของพระองค์ท่าน โปรดเมตตา ดูแลรักษาและดลบันดาลให้การดำเนินชีวิตของ ข้าพเจ้า ชื่อ…………………….. นามสกุล …………………………….. ได้ผ่านพ้นอุปสรรคไปได้ด้วยดี มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง อุบัติเหตุเพศภัยไม่มากล้ำกราย มีความสุขความเจริญ พบสิ่งที่ดีเป็นมงคลในชีวิตของข้าพเจ้าตลอดไปด้วยเทอญ ฯ”

การตั้งศาลตี่จู้เอี้ยะ   Leave a comment

ในการตั้งศาลตี่จู้เอี้ยะจะแตกต่างจากการตั้งศาลแบบพราหมณ์ คือจะจัดของไหว้ 2 ชุด ชุดแรกตั้งหน้าบ้านเพื่อไว้เทพยดาฟ้าดิน ชุดที่สองไว้หน้าศาลตี่จู้เอี้ยะ โดยทั้งสองชุดจะจัดเหมือนกัน

SDC10082-1

 

องค์ศาลและเครื่องประกอบศาลพร้อมของไหว้

  1. กระถามธูป (ใช้ผงขี้เถ้า) ถ้ากระถางเป็นสีแดงอยู่แล้ว ไม่ต้องนำผ้าแดงไปติดก็ได้
  2. กิมฮวย
  3. แจกัน
  4. เชิงเทียน (เทียนแดงขาไม้)
  5. ซาแซ หรือ โหงวแซ (ของไหว้ 3 อย่าง  5 อย่าง)
  6. ผลไม้ 5 อย่าง
  7. ขนมถ้วยฟูจีน
  8. บัวลอยจีน
  9. ขนมจันอับ
  10. สุรา น้ำดื่ม น้ำชา
  11. เมล็ดธัญพืช  5 อย่าง

          ส่วนขั้นตอนในการดำเนิพิธีตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จพิธี ผู้ทำพิธีหรืออาจารย์จะเป็นผู้กำหนด

  1. สถานที่ตั้ง
  2. ฤกษ์ยาม วัน เวลา
  3. อุปกรณ์ สิ่งข่องต่าง ๆ พร้อมเครื่องไหว้

เมื่อถึงวันฤกษ์ยามมงคลที่ดีแล้ว ผู้ทำพิธีจะร่วมกับทางเจ้าของสถานที่ทำพิธีจนเสร็จสมบูรณ์ทุกขั้นตอนการตั้งศาลเพื่อความเป็นมงคลตลอดไป

รายละเอียดของพิธีการบางส่วน อาจจะต่างกันไปบ้าง ขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ่น ประเพณีปฏิบัติ ตามสมัย แต่ในส่วนหลัก ๆ ที่กล่าวมาแล้ว นิยมใช้คล้าย ๆ กัน